งานกลุ่มที่ 1



ประวัติศาสตร์มวยไทย


ราว พ.ศ. ๑๔๙๐ คนไทยได้ตั้งอาณาจักรทางตอนเหนือ มี หัวหน้าเรียกว่า ปู่เจ้าลาวจก ดรองเมืองฝาง ปฐมกษัตริย์ในวงศ์ลวจักราช เป็นบรรพชนของกษัตริย์ในราชวงศ์มังรายของอาณาจักรลานนา เริ่มเรืองอำนาจสามารถรบทุ่งแย่งชิงอำานาจจากขอม จากนั้นคนไทยก็ขยาย อำนาจลงมาทางตะวันตกเฉียงเหนือสร้างอาณาจักรสุโขทัย แล้วอพยพลงมายังแม่น้ำเจ้าพระยา เกิดอาณาจักรอยุธยาในเวลาต่อมา
ระหว่างก่อสร้างอาณาจักรคนไทยผู้ที่มีสัญชาตญาณนักรบได้มี การฝึกต่อสู้ด้วยมื่อเปล่า จนกลายเป็นศิลปะป้องกันตัวซึ่งการรบในยุคโบราณเป็นการรบแบบประจัญบาน หรือที่เรียกว่าตะลุมบอน คือการต่อสู้ ในระยะประชดตัว ดังนี้คนไทยจึงต้องคิดค้นวิธีการต่อสู้โดยใช้สรีระเป็นอาวุธ และพยายามปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การใช้สรีระเป็นอาวุธได้พยายามพัฒนาผสมผสานกับอาวุธ ดาบและดั้ง คนไทยจึงฝึกยุทธวิถี การถีบ การเตะ และการตีลังกาเข้าไปประหัดประหารศัตรูอย่างรวดเร็วน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก มีจารึกภาษาล้านนา หรือเรียกว่าภาษาไทยยวนที่คัดลอกกัน ต่อๆ มา จารึกนี้บันทึกไว้ในใบลาน เรืยกว่า มังรายศาสตร์หรือกฎหมายมังราย เชื่อกันว่ามีบันทึกตั้งแต่ พ.ศ.๑๘๓๙ ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้ามังรายสร้างเมื่องเชียงใหม่ ในจารึกมีบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับคำว่า "มวย" เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จึงเป็นข้อสันนิษฐานของปฐมภูมิศิลปะมวยไทยมีมาแต่ครั้งนั้น


                                                                        ประวัติความเป็นมาของมวยไทย
มวยไทยเริ่มขึ้นในสมัยไม่ปรากฏ และไม่มีหนังสือเล่มใดเขียนไว้ว่า จะเกิดขึ้นในสมัยใด แต่เท่าที่ได้ปรากฏนั้น มวยไทย ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กับชาติไทย เพราะมวยไทยนั้นเป็นศิลปประจำชาติไทย เรา จริง ๆ ยากที่ ชาติอื่นจะลอกเลียนแบบได้     มวยไทยในสมัยก่อนเท่าที่ทราบ จะมีการฝึกฝนอยู่ในบรรดาหมู่ทหาร เพราะในสมัยก่อน ไทยเราได้มีการรบพุ่ง และ สู้รบกันกับ ประเทศเพื่อนบ้านบ่อยครั้ง การสู้รบในสมัยนั้นยังไม่มีปืน จะสู้กันแต่ดาบสองมือ และมือเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ การรบพุ่ง ก็มีการรบ ประชิดตัว คนไทยเห็นว่าในสมัยนั้น การรบด้วยดาบ เป็นการรบพุ่งที่ประชิดตัว มากเกินไป บางครั้ง คู่ต่อสู้อาจเข้ามา ฟันเราได้ง่าย คนไทยจึงได้ฝึกหัด การถีบและเตะคู่ต่อสู้เอาไว้ เพื่อคู่ต่อสู้ จะได้เสียหลัก แล้วเราจะได้ เลือกฟันง่ายขึ้น ทำให้คู่ต่อสู้แพ้ได้
ต่อมาเมื่อในหมู่ทหารได้มีการฝึกถีบเตะแล้ว ก็เกิดมีผู้คิดว่าทำอย่างไรจึงจะใช้การถีบเตะนั้น มาเป็นศิลปสำหรับ การต่อสู้ ด้วยมือได้ จึงต้องให้มีผู้ที่จะคิดจะฝึกหัดการต่อสู้ป้องกันตัว สำหรับการใช้แสดงเวลามีงานเทศกาลต่าง ๆ ไว้อวดชาวบ้าน และเป็นของแปลก สำหรับชาวบ้าน เมื่อเป็นเช่นนี้ นานเข้า ชาวบ้านหรือคนไทย ได้เห็นการถีบเตะ แพร่หลาย และบ่อยครั้ง เข้า จึงทำให้ชาวบ้านมีการ ฝึกหัดมวยไทยกันมาก จนถึงกับตั้งเป็นสำนักฝึกกันมากมาย แต่สำหรับที่ฝึกมวยไทยนั้น ก็ต้อง เป็นสำนักดาบที่มีชื่อดีมาก่อน และ มีอาจารย์ดีไว้ฝึกสอน
 ดังนั้นมวยไทยในสมัยนั้น จึงฝึกเพื่อความหมาย ๒ อย่างคือ
๑. เพื่อไว้สำหรับสู้รบกับข้าศึก
๒. เพื่อไว้ต่อสู้ป้องกันตัว
                ในสมัยนั้น ใครมีเพลงดาบดี และเก่งกาจทางรบพุ่งนั้น จะต้องเก่งทางมวยไทยด้วยเพราะเวลารบพุ่งนั้น ต้องอาศัย มวยไทย เข้าช่วย ดังนั้นวิชามวยไทยในสมัยนั้นจึงมุ่งหมายที่จะฝึกฝนเพลงดาบและวิชามวยไทยไปพร้อม ๆ กัน เพื่อที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยการ เป็นทหาร ได้เป็นอย่างดี
แต่เมื่อพ้นจากหน้าสงคราม ก็จะมีการชกมวยกัน เพื่อความสนุกสนาน และมีการพนันขันต่อกัน ระหว่างนักมวยที่เก่ง จากหมู่บ้านหนึ่ง กับนักมวยที่เก่งจากอีกหมู่บ้านหนึ่ง มาชกกันในหน้าที่มีงานเทศกาล หรือเกิดมีการท้าทายกันขึ้น และมีการ พนันขันต่อ มวยในสมัยนั้น ชกกันด้วยหมัดเปล่า ๆ ยังไม่มีการคาดเชือก เช่น สมัยอยุธยาตอนต้น ในสมัยนั้น คนไทย ที่ทำชื่อเสียง ให้กับประเทศในวิชามวยไทย มากที่สุด คือ นายขนมต้ม ซึ่งได้ใช้วิชามวยไทย ต่อสู้พม่า ถึง ๑๐ คน และพม่าก็ได้ แพ้นายขนมต้มหมดทุกคน จนถึงกับกษัตริย์พม่า พูดว่า

"คนไทยถึงแม้ว่าจะไม่มีดาบ แม้แต่มือเปล่า ก็ยังมีพิษสงรอบตัว"
นายขนมต้มจึงเปรียบเสมือนผู้เป็นบิดาของวิชามวยไทย เพราะทำให้คนไทยมีชื่อเสียง เกี่ยวกับ วิชามวยไทย เป็นอันมากในสมัยนั้น และชื่อเสียงก็ได้เลื่องลือมาจนถึงกับปัจจุบันนี้ 
ในสมัยต่อมา มวยไทยก็ยังฝึกฝนคู่กับการฝึกเพลงดาบอยู่ และยังฝึกและใช้เพื่อการทำสงคราม และฝึกฝนเพื่อการ ต่อสู้ ป้องกันตัว บางทีก็ฝึกเพื่อชกในงานเทศกาลต่าง ๆ ในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระมหากษัตริย์ของไทยบาง พระองค์ มีฝีมือ ในทางมวยไทย อยู่มาก เช่น พระเจ้าเสือ หรือขุนหลวงสรศักดิ์ ซึ่งได้หนีออกจากพระราชวัง ไปชกมวยกับชาวบ้าน และ ชกชนะด้วย ต่อมาประชาชน ทราบและเห็นว่า พระองค์ก็เป็นผู้มีฝีมือในวิชามวยไทย อยู่ในขั้นดีเยี่ยม ในสมัยต่อมา ผู้ที่มี ฝีมือในทางมวยไทยก็มีมาก เช่น พระเจ้าตากสินวิชามวยไทยได้ยั่งยืนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน และในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ มวยไทยได้ชกกันด้วยการคาดเชือก คือใช้เชือก เป็นผ้าพันมือ บางครั้งการชกก็อาจถึงตาย เพราะเชือก ที่คาดมือนั้น บางครั้งก็ใช้น้ำมันชุบเศษแก้ว ละเอียด ชกถูกตรงไหน ก็เป็นแผลตรงนั้น จะเห็นได้ว่ามวยไทยในสมัยนั้น มีอันตราย เป็นอันมาก
ต่อมาในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา มวยไทยก็มีการฝึกตามสำนักฝึกต่าง ๆ และมีการฝึกกันอย่างกว้างขวาง จนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ ก็มีเวทีมวยที่จัดให้มีการแข่งขันกันอย่างสนุกสนาน เช่น เวทีสวนเจ้าเชษฐ และเวทีสวนกุหลาบ ซึ่งการ ชกมวยในสมัยนี้ ก็ยังมีการคาดเชือกกันอยู่ จนตอนหลัง นวมได้เข้ามาแพร่หลายในประเทศไทย การชกกัน ในสมัยหลัง ๆ จึงได้สวมนวมชก แต่การชกกันก็ยังเหมือนเดิม คือ ยังใช้การ ถีบ ชก ศอก และเข่า ดังที่เห็นอยู่ ในปัจจุบันนี้ ฯ


สนามมวย
                ที่เรียกกันว่าสนาม ครั้งก่อน ๆ นั้น เป็นสนามจริง ๆ คือนายสนามเอาเชือกมากั้นพอเป็นบริเวณเข้า แล้วมวยก็คาด เชือก ชกกันบนพื้นดิน ใช้จอก หรือ กะลา เจาะรู ลอยน้ำ เป็นมาตรากำหนดเวลา จมครั้งหนึ่ง เรียกว่า ยกหนึ่ง การต่อสู้ ตามความรู้สึกในขณะนั้น เรียกว่าตื่นเต้น แต่ถ้าหากให้ชกกันเดี๋ยวนี้ ก็คงจะถูกผู้ดูให้ลง กรรมการไล่ลง หรือออกจาก เวที แน่ เพราะกว่าจะชกกันแต่ละครั้งนั้น นานจนเมื่อยตา แต่ก็น่าเห็นใจ เนื่องจากหมัดที่ใช้ชก คาดด้วย เชือกแทน สวมนวม อย่างไรก็ดี กีฬามวยเริ่มเข้าสู่ระเบียบอย่างจริงจัง ก็เมื่สร้างเวทีขึ้นกลางสนามฟุตบอล สวนกุหลาบ พื้นใช้ ไม้กระดาน เสื่อ เป็นแบบ เสื่อกระจูดทับข้างบน มีการนับโดยจับเวลา เป็นนาที มีกรรมการขึ้น คอยห้าม ครั้งแรกเคยใช้กรรมการสองคน คนหนึ่งคอยกันจับฝ่ายแดง อีกคนหนึ่งคอยกันจับฝ่ายน้ำเงิน ในสมัยก่อน มีกรรมการ ๒ คน คนหนึ่งคือ พระยานนท์เสน อีกคนหนึ่งคือ พระยานเรนทร์ราชา ที่เป็นกรรมการตัดสิน ที่นิยม ยกย่องแพร่หลาย ในระหว่าง นักมวย และคณะหัวหน้านักมวย ทั่วไป
สำหรับการชกนั้น ชกกันสลับคู่ อาทิ คู่ ๑ ชกครบ ๑ ยก แล้วก็ลงจากเวที แล้วให้คุ่ที่ ๒ ขึ้นไปชกกัน เพื่อมิให้คนดู เสียเวลา ถ้ายัง ไม่แพ้ชนะกัน ก็สลับไปถึงคู่ ๓ - ๔ - ๕ จนกว่าจะสิ้นแสงตะวัน หลักเกณฑ์ และกติกาเบื้องต้น อนุญาตให้ซ้ำกันได้ ในเวลาล้ม นักมวยตอนนั้น จึงต้องเรียนรู้วิธีต่อสู้รอบตัวทีเดียว เพราะฟาวล์ไม่มี แม้กระทั่ง กัดใบหู ก็เคยปรากฏ อีกอย่าง หนึ่ง สมัยนั้น นักเรียนพลศึกษามีมาก อยากจะขึ้นชกเป็นการแสดงฝีมือ และสอบ ไล่มวยไทย ไปในตัวเสร็จ แต่กลัวพวก นักมวยต่างจังหวัด จึงตกลงวางหลักกติกาให้กรรมการใช้ ยูยิตสู ช่วยด้วย จึงเป็นของ ธรรมดาที่เราจะเห็นนักมวยต่างจังหวัด ซึ่งไม่รู้ว่า ยูยิตสู คืออะไร ถูกทุ่ม ถูกล็อค จนออกปากส่งเสียง ร้องเอ็ดตะโร ยอมแพ้ให้ไป นอกจากบางราย ที่ถูกเตะ เสียจนตั้งตัวไม่ติด และแพ้ไปก่อน



ประโยชน์ของมวยไทย
 ผู้ที่ฝึกวิชามวยพอใช้การได้แล้ว ย่อมทำให้เกิดประโยชน์แก่ตน ดังนี้ (คนละส่วนกับการฝึกชกมวยเพื่อเงิน)
 ๑. มีความมั่นใจในตนเอง
๒. ทำให้เกิดความกล้าหาญ
๓. มีอำนาจบังคับจิตใจดีขึ้น
๔. มีความสุขุมเยือกเย็น ไม่ดีใจเสียใจง่าย
๕. มีความพินิจพิเคราะห์ รู้จักหาเหตุผล
๖. มีความมานะอดทน เพื่อสร้างสมรรถภาพ
๗. มีเชาว์ไว ไหวพริบ ทันเหตุการณ์ปัจจุบันทันด่วน
๘. มีความเข้มแข็งอดทน ไม่ท้อแท้ และจำนนต่อเหตุการณ์ง่าย ๆ
๙. มีความรักสุจริตยุติธรรม โดยประมวลจากหัวข้อข้างต้น
 เหล่านี้ย่อมเป็นที่สังเกตุว่า วิชามวยเป็นสิ่งที่สร้างสมรรถภาพให้ร่างกาย และจิตใจโดยสมบูรณ์ ผู้มุ่งศึกษาวิชามวย พึงพยายาม จนบรรลุผลที่มุ่งหมาย
วิธีฝึกหัดมวยไทย
มีการฝึก ๒ แบ ๒ ยุค ที่แตกต่างกันตามสมัย
- สมัยก่อน ฝึกตามวิธีของ พระเหมสมาหาร
- สมัยปัจจุบัน ซึ่งหลักใหญ่ สำหรับศึกษาวิชามวย ซึ่งปฏิบัติฝึกฝนพร้อมกันไป มี ๓ แนวทาง
 ๑. ฝึกให้ร่างกายมีความแข็งแรงอดทน ว่องไว
๒. ฝึกจิตใจอยู่ในบังคับ
๓. ฝึกให้รู้จักหาไหวพริบในเชิงมวย
 วิธีฝึกหัดมวยไทย สมัยก่อน ตามวิธีของ พระเหมสมาหาร
วิธีฝึกหัดมวยดังได้ฝึกมาแต่ก่อน จะปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. เมื่อเวลาลุกขึ้นจากนอนไม่ว่าเวลาใด ให้นอนหงายเหยียดเท้าตรงไปทั้งสองข้าง ให้ชกสองมือสุ่มขึ้นไป ทั้งสองมือ จนตัวตั้งตรงขึ้น วิธีทำดังนี้ หวังว่าให้เส้นสายบริบูรณ์ และให้มือสันทัดทั้งสองข้าง
 ๒. เมื่อเวลาจะล้างหน้า ให้เอามือวักน้ำมารอหน้า อย่าเอามือถูหน้า ให้เอาหน้าถูมือ กลอกไปมาจนล้างหน้าเสร็จ วิธีอันนี้ ทำให้ตาเราดี ไม่วิงเวียน เมื่อจะลอดหลบหลีก และให้เส้นสายคอของเราเคยด้วย
 ๓. เมื่อตะวันขึ้น ให้นั่งหันหน้าไปทางตะวัน เพ่งดูตะวันแต่เช้าไปจนสายพอสมควร วิธีอันนี้ ทำให้แสงตากล้า ถึงเขาจะ ชก หรือเตะมา ตาเราก็ไม่หลับเพ่งดูเห็นอยู่ได้ ไม่ต้องหลับตา
 ๔. เมื่อเวลาอาบน้ำ ให้มุดลืมตาในน้ำทุกที วิธีอันนี้ ทำให้แสงตากล้าขึ้นได้
๕. แล้วให้ลงไปในน้ำเพียงคอ ให้ถองน้ำทั้งสองศอกชุลมุน จนลอยขึ้นได้ วิธีอันนี้ ทำให้คล่องแคล่วกระบวนศอก และ บำรุงเส้นสาย ด้วย
 ๖. เมื่อเวลาเช้า เย็น หรือ กลางคืน ให้ชกลม เตะลม ถีบลม และกระโดดเข้ากระโดดออก เล่นตัวให้คล่องแคล่ว ทั้งศอก ทั้งเข่า เสมอ ทุกวัน วิธีอันนี้ เป็นที่ประเสริฐจริง ๆ
 หมดวิชาฝึกหัดตัวเองเท่านี้
 เมื่อครูเห็นว่า มือและเท้า ชก เตะ ถีบ คล่องแคล่วดีแล้ว จะบอกไม้ และยกครูเสียก่อน กรวย ๖ กรวย เงิน ๖ สลึง ผ้าขาว ๖ ศอก ดอกไม้ ธูป เทียนยกครู จุดธูปเทียนบูชาครู ครูจึงให้ยืนตรงขึ้นเท้าเรียงชิดกัน ครูจึงจับมือทั้งสองยกจรดหน้าผาก และประสิทธิ์ให้ว่า
 สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิกาละ ตะถาคะโต สิทธิเตโช ไชยโยนิจจัง สิทธิกัมมัง ประสิทธิเม ฯ
แล้วให้ย่างสามขุม แล้วบอกไม้ต่อไป
 ๑. ไม้หนึ่งมาชักตีตีนน่าขึ้นพร้อมชัก
๒. ไม้สองปิดปกชกด้วยศอก
๓. ไม้สามชกข้ามไหล่
๔. ไม้สี่ชกนอกเมื่อชักออกให้ชกใน
๕. ไม้ห้าชกช้างประสานงา
 ห้าไม้นี้เป็นไม้ของครู แล้วมีไม้เบ็ดเตล็ดต่อไป เช่น
 ไม้ทัดมาลา ๑ ไม้กาฉีกรัง ๑ ไม้หนุมานถวายแหวน ๑ ไม้ล้มพลอยอาบ ๑ ไม้ลิงชิงลูกไม้ ๑ ไม้กุมภกรรฐ์หักหอก ๑ ไม้ฤๅษีมุดสระ ๑ ไม้ทศกรรฐ์โสก ๑ ไม้ตาเพียนแฝงตอ ๑ ไม้นกคุ่มเข้ารัง ๑ ไม้คชสารกวาดหญ้า ๑ ไม้หักหลักเพชร ๑ ไม้คชสารแทงโรง ๑ ไม้หนุมานแหวกฟอง ๑ ไม้ลิงกลิ้ง ๑ ไม้กาลอดบ่วง ๑ ไม้หนุมานแบกพระ ๑ ไม้หนุมานถอนตอ ๑ ไม้หนูไต่ราว ๑ ไม้ตะหลบนก ๑ ไม้ตอแหล ๑ ฯ
 บอกไว้แต่เพียง ๒๑ ไม้เท่านี้ก่อน แต่ไม้เบ็ดเตล็ดยังมีมากสุดจะพรรณนา

วิธีฝึกหัดมวยไทย สมัยปัจจุบัน
หลักใหญ่สำหรับศึกษาวิชามวย ซึ่งจะปฏิบัติฝึกฝนพร้อมกันไป มี ๓ แนว คือ
๑. ฝึกให้ร่างกายมีความแข็งเรง ว่องไว
๒. ฝึกจิตใจอยู่ในบังคับ
๓. ฝึกให้รู้จักหาไหวพริบในเชิงมวย
 ๑. ฝึกให้ร่างกายมีความแข็งแรงอดทน ว่องไว  มีวิธีปฏิบัติ คือ
 ก. บริโภคอาหาร ที่ก่อให้เกิดความสมบูรณ์แก่ร่างกาย ต้องละเว้นอาหารที่ให้โทษ และยาเสพติด เช่น สุรา กาแฟ เป็นต้น
ข. การบริหารร่างกาย ตามหลักสุขวิทยา เช่น ต่อยลมด้วยดัมเบล ต่อยลูกบอล ผลัก และชกถุงทราย ตลอดจนการ ออกกำลัง ด้วยมือเปล่าอื่น ๆ เช่น วิ่ง กระโดดเชือก ว่ายน้ำ
โดยเฉพาะการฝึกหัดดังกล่าวนี้ จะต้องมีเครืองอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น
 - กระสอบทราย ใช้ผ้าใบหรือหนังฟอก ซึ่งมีขนาดกว้างด้านหน้าราว ๒๕ เซนติเมตร สูงราว ๑ เมตร บรรจุขี้เลื่อยปน ทราย ในน้ำหนัก ๕๐ กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นกระทั่ง ๑๐๐ กิโลกรัมได้
- ดัมเบล หรือเหล็ก หรือหินถ่วงหมัด ๑ คู่ หนักครึ่งปอนด์
- เชือกกระโดด ยาว ๒ เมตรครึ่ง ๑ เส้น
การต่อยลมด้วยดัมเบล หมัดจะแรงและทน การต่อยลูกบอล ชกถุงทราย ทำให้พุ่งหมัดถูกต้อง และมีกำลัง
การวิ่ง การกระโดดเชือก ทำให้เกิดความไว อดทน การว่ายน้ำที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะช่วยให้อดทนต่อความ เหน็ดเหนื่อย
 ส่วนการเพาะให้เกิดกำลัง และกล้ามเนื้อแข็งแรงอย่างอื่น เช่น เล่นบาร์เบล เล่นยิมนาสติก บาร์เดี่ยว-คู่ เหล่านี้ เป็นการให้ เกิดกล้ามเนื้อใหญ่โต และมีความแข็งแรงทางกล้ามเนื้อ แต่ไม่ค่อยได้ผลสำหรับมวย ซึ่งมุ่งความว่องไว ยิ่งกว่า หากจะฝึก เพื่อกำลังบ้างก็ไม่ให้มากนัก

การหายใจช่วงยาว เป็นทำนองผายปอด สูดอากาศบริสุทธิ์ ทำให้ปอดขยายตัวเสมอ ก็จะเป็นการช่วยให้เกิดความ แข็งแรง


 ๒. ฝึกให้จิตใจอยู่ในบังคับ
เป็นวิธีฝึกที่ควรปฏิบัติไปกับการศึกษาแนวอื่นด้วย เพราะก่อนที่จะตัดสินใจศึกษาวิชามวยไทย จะต้องมีความตั้งใจ แน่วแน่ ว่า จะต้องพยายามจนบรรลุผลสำเร็จ เป็นการบังคับใจเป็นสัญญาข้อต้นว่า จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่อไป อีก เมื่อเริ่มการศึกษา ผู้ฝึกอาจประสบความยากลำบากบ้าง เช่น การจดจำที่ไม่แม่นยำ กำลังหรือแรงหมัดไม่แรง ทันใจ เหล่านี้ เราจะ ต้องบังคับจิตใจ ให้มั่นว่าเราไม่ใจเร็วด่วนได้จนเกินไป ไม่มีใครที่จะสำเร็จวิชาเพียงการ เรียนวิชาวันเดียว การต่อสู้ด้วยมวย เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด ความเจ็บปวด โดยเจตนาบ้างมิเจตนาบ้างเสมอ ความมีชัย ของมวยอยู่ที่ ความ สามารถทำให้ฝ่ายหนึ่ง บอบช้ำยิ่งกว่าตน แม้แต่ เวลาฝึกซ้อมกันเองก็ยังมี นี่ก็เป็นการจำเป็น ที่จะต้องฝึก บังคับจิตใจ ให้อดทน ไม่ให้เกิดโทสะ คือ มีโมโหโกรธง่าย ความโกรธ นอกจากจะประจานตัวเอง ว่ามิใช่ใจเป็นนักกีฬาแล้ว ยังเป็น ช่องทางให้เราเสียเปรียบคู่ต่อสู้ เป็นอันมาก เพราะขาดสติการยับยั้ง การพิจารณา ที่ถูกต้อง และความสุขุมไม่สามารถ ใช้หัวคิดให้เกิดไหวพริบได้ ฉะนั้น ผู้รักษาวิชามวย ควรบังคับจิตใจ และเตือน ตัวเองอยู่เป็นนิจว่า "ไม่โกรธ" แม้จะ เห็นว่าควรโกรธอย่างยิ่ง ก็ควรคิดว่า เราถูกยั่วให้โกรธเพื่อความมีชัย ของปฏิปักษ์ ซึ่งจะเป็น การโง่กว่าเขาอย่างน่า อับอายทีเดียว
                การฝึกบังคับจิตนี้ ย่อมพัวพันในระหว่างการฝึกความว่องไวการต่อสู้ เมื่อเราระมัดระวังอยู่เสมอ ก็จะเกิดความเคยชิน และ เป็นนิสัย ที่ดีต่อไปเอง


 ๓. ฝึกให้รู้จักไหวพริบในเชิงมวย
เมื่อเรามีร่างกายที่สมบูรณ์พอ และมีจิตใจที่มั่นต่อการศึกษาที่จะเป็นนักมวยที่ดีต่อไปแล้ว อีกข้อหนึ่งซึ่งก่อน การฝึกหัด ท่าต่าง ๆ หรือความว่องไวในต่อสู้ ข้อความรู้เบื้องต้นของการต่อสู้ ซึ่งเราควรมีโดยลำพังก่อน เช่น การตั้งท่าในเวลา ต่อสู้ วิธีกำหมัด วิธีสืบเท้าใช้เท้า วิธีกะระยะต่อย วางระเบียบของตนเอง และจุดสำคัญของ ร่างกาย ซึ่งไม่ใช่ท่าทาง การต่อย หรือลูกไม้ในการต่อสู้

การฝึกไหวพริบ เชิงมวย

- จุดสำคัญ ๆ ที่ควรระวัง
- ทักษะเบื้องต้น
- วิธีตั้งท่าในการต่อสู้ / การใช้หมัด / การใช้ศอก / การใช้เข่า / การใช้เท้า
                เมื่อฝึกจนคล่องแคล่ว กล้ามเนื้อ และประสาท เกิดความเคยชิน ในยามต่อสู้ จะสามารถใช้ ทักษะเหล่านี้โดยสัญชาตญาณ การฝึกออกท่า ออกอาวุธบ่อย ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
 จุดสำคัญ ๆ ที่ควรระวัง
                จุดสำคัญของร่างกาย จุดสำคัญเหล่านี้เป็นจุดที่อาจทำให้ บอบช้ำ สลบ หรือสิ้นสุดการต่อสู้ ได้ง่ายขึ้น หากเรา สามารถ ชกถูกปฏิปักษ์ ในจุดเหล่านี้ได้ ฉะนั้น ในการฝึกหัดชก ควรพยายามมุ่งเอาจุดสำคัญเหล่านี้ เป็นเป้าหมาย เพราะเพียง การชกที่ไม่มี น้ำหนัก ก็อาจจะ ทำให้ปฏิปักษ์บอบช้ำ ได้มาก และก็ในทำนองเดียว หากเราเป็นฝ่าย ถูกชก ก็ได้รับผล ดุจกัน จึงเป็นจุดที่เราควรจะระวังปิดป้องเป็นอันดี จุดเหล่านี้มี
 ๑. ปลายคาง
๒. ขมับซ้าย - ขวา
๓. ขากรรไกรซ้าย - ขวา
๔. ก้านคอ ลูกกระเดือก
๕. ลิ้นปี่
๖. ชายโครงซ้าย - ขวา
๗. ท้อง


ทักษะเบื้องต้น
                ในการเรียนมวยไทย ผู้เรียนจำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะเบื้องต้น เช่นเดียวกับการเรียนกีฬาอื่น ๆ เหมือนกันโดย เฉพาะอย่างยิ่ง มวยไทยนั้น ทักษะเบื้องต้นนับว่ามีความสำคัญที่สุด จะเป็นทักษะในการเข้าทำก็ดี หรือทักษะ ในการรับก็ดี ล้วนสำคัญทั้งสิ้น จะขาดตกบกพร่องทักษะหนึ่งก็ไม่ได้ เพราะเวลาต่อสู้กันนั้น คู่ต่อสู้จะพยายาม ใช้อาวุธทุกอย่าง ไม่ยับยั้งว่าคู่ต่อสู้จะอ่อนหัด สักแค่ไหน ดังนั้นคู่ต่อสู้จำเป็นต้องรับรองไว้ให้อยู่และปลอดภัย ในขณะเดียวกัน ก็สามารถจะรุกเข้าทำได้
 ทักษะเบื้องต้นที่ต้องฝึกหัดมี ดังนี้
-. วิธีตั้งท่าในการต่อสู้
-. การใช้หมัด และการป้องกัน
-. การใช้ศอก และการป้องกัน
-. การใช้เข่า และการป้องกัน
-. การใช้เท้า และการป้องกัน
 ทักษะมวยไทย
 วิธีตั้งท่าในการต่อสู้
ระยะที่ ๑ จากท่าที่ยืนตรง ๆ ก้าวเท้าซ้ายออกไปข้างหน้า ราวครึ่งหนึ่งของระยะก้าวธรรมดา ซึ่งอยู่ในท่าสบาย ๆ ทุ่มน้ำหนักตัว ตามเท้าซ้ายไปข้างหน้า ส่วนเท้าขวา ยกส้นขึ้นจากพื้น ประมาณ ๒ นิ้ว เพื่อเป็นสปริงเมื่อจะพุ่งออก หรือถอยหลัง    ส่วนแขนให้งอแขนขวา ขึ้นมาชิดหน้าอก เหนือลิ้นปี่ ใกล้ลูกคาง ทำท่าเตรียมจะพุ่งไปสู่ลูกคางคู่ต่อสู้ได้ง่าย    แขนซ้ายก็งอขึ้นเพียงเสมอหน้าท้อง ให้ศอกห่างจากชายโครงประมาณ ๓ นิ้ว หมัดเฉียงเล็กน้อย   ในระยะต่อไป เมื่อมีการเคลื่อนที่ไปบ้าง ก็พยายามให้เท้าซ้ายคงเป็นเท้าหน้าไว้เสมอ
 วิธีกำหมัด
การกำหมัด ความจริงไม่น่าจะมีความจำเป็นต้องกล่าว เพราะทุกคนมีความถนัดในการกำหมัดชกอยู่ด้วยกันแล้ว แต่ก็มัก ปรากฏอยู่บ่อย ๆ ว่าการชกนั้น นิ้วหัวแม่มือซ้น หรือเดาะ ก็มี ซึ่งเกิดจากการกำหมัดไม่เป็น เช่น หัวแม่มือทาบอยู่บน นิ้วชี้ด้านบน หรือเอนหัวแม่ มือสอดเข้าไปในช่องนิ้วอื่นซึ่งคิดว่ารัดกุมดี แต่บัดนี้ใช้นวม การยัดนิ้วดังกล่าวย่อมเป็นไป ไม่ได้    การกำมือนั้น ให้กำนิ้วทั้งสี่เข้าที่แล้ว ให้นิ้วหัวแม่มือทาบอยู่ระหว่างร่องนิ้วชี้กับนิ้วกลาง
 วิธีสืบเท้า
การใช้เท้า ก้าวคืบไปข้างหน้า เรียกว่าการสืบเท้า การสืบเท้าเข้าหาคู่ต่อสู้ หากไม่ฝึกให้เคยชินเสียก่อน อาจจะก้าว ผิดจังหวะ และผิดระยะได้ง่าย ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ฝ่ายปฏิปักษ์ได้เปรียบ การสืบเท้าควรใช้เท้าซ้ายเป็นเท้าแรก เคลื่อนไปในระยะ ๑ คืบ และสืบเท้าขวาตาม จะเป็นสืบตรงหรือเฉียงก็ตาม หากถอยก็สืบเท้าขวาก่อน เท้าซ้ายตาม การสืบเท้านี้ในการฝึกแรก ๆ ควรหัด เป็นจังหวะช้า ๆ จนชำนาญทั้งทางซ้ายทางขวา และสืบพร้อมกันทั้งสองเท้าได้ โดยชำนาญและรวดเร็ว การลากเท้าไปมาโดย ความเบาและรวดเร็วนี้ คือการสืบเท้าที่รักษาจังหวะให้ถูกต้อง
แม่ไม้มวยไทย ๑๕ ท่า
แม่ไม้มวยไทยที่สำคัญขนาดยอดเยี่ยม โบราณาจารย์ผู้ทรงคุณ ท่านได้จัดแบ่งไว้ ๑๕ ท่า คือ
การใช้ หมัด ศอก เข่า เท้า มีทั้งรุก และรับ ในจังหวะสถานการณ์ต่าง ๆ กัน ตั้งเป็นชื่อกล ต่าง ๆ เพื่อการจดจำ


กลที่
ชื่อ
วิธีใช้
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
สลับฟันปลา
ปักษาแหวกรัง
ชวาซัดหอก
อิเหนาแทงกฤช
ยกเขาพระสุเมรุ
ตาเถรค้ำฟัก
มอญยันหลัก
ปักลูกทอย
จระเข้ฟาดหาง
หักงวงไอยรา
นาคาบิดหาง
วิรุณหกกลับ
ดับชวาลา
ขุนยักษ์จับลิง
หักคอเอราวัณ
รับวงนอก
รับวงใน
ศอกวงนอก
ศอกวงใน
ต่อยตั้งหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา
ต่อยคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา
รับต่อยด้วยถีบ
รับเตะด้วยศอก
รับต่อยด้วยเตะ
ถองโคนขา
บิดขาจับตีเข่าที่น่อง
รับเตะด้วยถีบ
ปัดหมัดต่อยตอบ
รับ - เตะ - ต่อย - ถอง
โน้มคอตีเข่า


กลแม่ไม้มวยไทย
 กล ๑ สลับฟันปลา (รับวงนอก)
แม่ไม้กล ๑ นี้ เป็นไม้หลักหรือไม้ครูเบื้องต้น ใช้รับและหลบหมัดตรงของคู่ปรปักษ์ที่ชกนำอย่างรุนแรง และ หนักหน่วง หลบออกวงนอก นอกลำแขนของคู่ปรปักษ์ ทำให้หมัดตรงของผู้ชกเลยหน้าไป
 ก. ฝ่ายรุกชกด้วยหมัดตรงซ้าย พร้อมกับตัวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า หมายชกบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาหลบไปทางกึ่งขวา ๑ ก้าว พร้อมทั้งโน้มตัวเอนไปทางขวาประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัว อยู่บน เท้าขวา ขาขวางอเล็กน้อย ศีรษะและตัวหลบออกวงนอกของหมัดฝ่ายรุก ทันใดใช้มือขวาจับกำคว่ำ ที่แขน ท่อนบน ของฝ่ายรุก มือซ้าย จับ กำ หงาย ที่ข้อมือของฝ่ายรุก (ท่าคล้ายจับหักแขน)


กล ๒ ปักษาแหวกรัง (รับวงใน)
ก. ฝ่ายรุกชกใบหน้าฝ่ายรับด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าสืบไปข้างหน้า เฉียงไปทางกึ่งซ้ายเล็กน้อยภายในแขนซ้ายของฝ่ายรุก ตัวเอนประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าซ้าย ทันใดให้งอแขนทั้ง ๒ ขึ้น ปะทะแขนท่อนบนและท่อนล่างของฝ่ายรุกไว้โดยเร็ว หมัดของ ฝ่ายรับทั้งคู่ ชิดกัน (คล้ายท่าพนมมือ) ศอกกางประมาณ ๑ คืบ ศีรษะและใบหน้า กำบังอยู่ระหว่างแขน ทั้งสอง ตาคอย ชำเลืองดูหมัดขวา ของฝ่ายรุก
 กล ๓ ชวาซัดหอก (ศอกวงนอก)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดตรงซ้ายยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าเอนตัวไปทางกึ่งขวา ตัวเอนประมาณ ๓๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนเท้าขวา ทันใดรีบงอแขนซ้าย ใช้ศอกกระแทก ชายโครงใต้แขนซ้ายของฝ่ายรุก
 กล ๔ อิเหนาแทงกฤช (ศอกวงใน)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า ตัวเอียงไปทางซ้ายเล็กน้อยตัวเอนประมาณ ๖๐ องศา น้ำหนักตัวอยู่บน เท้าซ้าย งอศอกขวา ขนานกับพื้น ตีระดับชายโครงฝ่ายรุก ตอบด้วยแขนซ้าย
 กล ๕ ยกเขาพระสุเมรุ (ต่อยตั้งหมัดต่ำก้มตัว ๔๕ องศา)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาพร้อมกับย่อตัวต่ำเข้าหาฝ่ายรุก งอเข่าขวา ขาซ้ายตึง ย่อตัวต่ำเอนไปข้างหน้าประมาณ ๔๕ องศา น้ำหนักตัวอยู่บนขาขวา ทันใดนั้น ให้ยืดเท้าขวายกตัวเป็นแหนบ พร้อมกับพุ่งหมัดชกขวาเสยใต้คาง ของฝ่ายรุก หน้าเงยดูคาง ของฝ่ายรุก แขนซ้ายกำบังอยู่ตรงหน้าเสมอคาง


กล ๖ ตาเถรค้ำฟัก (ต่อยคางหมัดสูงก้มตัว ๖๐ องศา)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้าของฝ่ายรุก ทางกึ่งขวาของวงหมัดภายในของฝ่ายรุกที่ชกมา งอเข่าซ้าย เล็กน้อยใช้หมัดซ้าย ชกใต้คางของฝ่ายรุก แล้วใช้แขนยวาที่งอป้องหมัดซ้ายฝ่ายรุกที่ชกมาให้พ้นตัว
 กล ๗ มอญยันหลัก (รับต่อยด้วยถีบ)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ ผลักตัวเอนไปทางขวา เอนตัวหนีฝ่ายรุกประมาณ ๔๕ องศา ยืนบนเท้าขวา แขนทั้ง ๒ งออยู่ตรงหน้า เหลียวดู ฝ่ายรุก ทันใดนั้น ยกเท้าซ้ายถีบที่ยอดอก หรือท้องน้อยของฝ่ายรุกให้กระเด็นห่างออกไป
 กล ๘ ปักลูกทอย (รับเตะด้วยศอก)
ใช้รับการเตะกราดของคู่ต่อสู้ โดยใช้ศอกรับสลับกัน
ก. ฝ่ายรุก ยืนตรงหน้าพอได้ระยะเตะ ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ จากขวาไปซ้าย โน้มตัว เล็กน้อย งอแขนทั้ง ๓ ป้องกันตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวไปทางซ้าย พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายฉากไปข้างหลัง ใช้แขนขวางอศอกขึ้นรับเท้าของฝ่ายรุก ที่เตะมา แขนซ้ายงอป้องกันอยู่ตรงหน้าสูงกว่าแขนขวาเพื่อป้องกันพลาดถูกใบหน้า
 กล ๙ จระเข้ฟาดหาง (รับต่อยด้วยเตะ)
ก. ฝ่ายรุก
ข. ฝ่ายรับ
 กล ๑๐ หักงวงไอยรา (ถองโคนขา)
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังชายโครงของฝ่ายรับ งอแขนทั้ง ๒ บังอยู่ตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าขวาเข้าหาฝ่ายรุกตรงหน้าเกือบประชิดตัว ข้างตัวไปทางซ้าย เข่าขวางอ เท้าซ้ายเหยียดตรง ทันใด เอามือซ้ายจับเท้าขวาของฝ่ายรุก ต้องพยายามยกขาฝ่ายรุกให้สูง กันฝ่ายรุกใช้ศอกถองศีรษะ
กล ๑๑ นาคาบิดหาง (บิดขาจับตีเข่าที่น่อง)
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดไปยังบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ แขนทั้ง ๒ งออยู่ตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัวไปทางซ้าย ยืนบนเท้าซ้าย มือซ้ายจับส้นเท้าของฝ่ายรุก มือขวาจับที่ปลายเท้าบิดออกนอกตัว ทันใดนั้น รีบยกเข่าขวาตีที่น่องของฝ่ายรุก
 กล ๑๒ วิรุณหกกลับ (รับเตะด้วยถีบ)
ก. ฝ่ายรุก
ข. ฝ่ายรับ
 กล ๑๓ ดับชวาลา (ปิดหมัดต่อยตอบ)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนขวาคุมบริเวณ ปลายคาง
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้ากึ่งขวาหลบอยู่นอกหมัดซ้ายของฝ่ายรุก เอี้ยวตัวไปทางขวา ปัดและกดแขนซ้าย ของฝ่ายรุกที่ชกมา ให้เอนไปทางซ้าย กดให้ต่ำลง ทันใดรีบใช้หมัดซ้ายต่อย บริเวณปากครึ่งจมูกครึ่ง หรือที่เบ้าตา ของฝ่ายรุก แล้วพุ่งตัวโดด ไปทางกึ่งขวา
 กล ๑๔ ขุนยักษ์จับลิง (รับ - ต่อย - เตะ - ถอง)
ไม้นี้เป็นไม้สำคัญมาก ใช้แก้ลำคู่ต่อสู้ที่ไวในการต่อย เตะ ถอง ติดพันกัน การปฏิบัติ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน
 ตอนที่ ๑
ก. ฝ่ายรุก พุ่งหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบก้าวเท้าซ้ายสืบเท้าเข้าหาตัวฝ่ายรุกตรงหน้า แขนขวาปัดแขนซ้ายฝ่ายรุกให้พ้นจากตัว
 ตอนที่ ๒
ก. ฝ่ายรุก ยกเท้าขวาเตะกราดบริเวณชายโครงของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ รีบผลักตัว ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง ราวกึ่งซ้ายย่อตัวใช้ศอกขวาถองที่ขาขวาท่อนบนของฝ่ายรุก
ตอนที่ ๓
ก. ฝ่ายรุก งอแขนขวาโน้มตัวถองชกศีรษะของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ รีบยืดตัว งอแขน ให้แขนท่อนบนปะทะแขนท่อนล่างของฝ่ายรุก แล้วรีบผลักตัว ก้าวเท้าขวาไปทางหลัง ประมาณกึ่งขวา
 กล ๑๕ หักคอเอราวัณ (โน้มคอตีเข่า)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมอยู่บริเวณคาง
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายสืบไปตรงหน้าฝ่ายรุกอย่างรวดเร็ว พร้อมกับยกแขนขวาสอดปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุก แล้วโดด เข้าเหวี่ยงคอฝ่ายรุก โน้มลงมาโดยแรง แล้วตีด้วยเข่าบริเวณใบหน้า
 ลูกไม้มวยไทย ๑๕ ท่า
เมื่อเรียนแม่ไม้ ๑๕ กล ชำนาญดีแล้ว จะออกเป็น ลูกไม้ที่สำคัญ ๑๕ เชิง
มีชื่อกำกับเพื่อการจดจำ ต่าง ๆ


กล
ชื่อ
การใช้
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
๑๕
เอราวัณเสยงา
บาทาลูบพักตร์
ขุนยักษ์พานาง
พระรามน้าวศร
ไกรสรข้ามห้วย
กวางเหลียวหลัง
หิรัญม้วนแผ่นดิน
นาคมุดบาดาล
หนุมาณถวายแหวน
ญวนทอดแห
ทะแย ค้ำเสา
หงส์ปีกหัก
สักพวงมาลัย
เถรกวาดลาน
ฝานลูกบวบ
แหวก ชกเสยคาง
ปัดหมัด เตะตรงหน้า
แหวกหมัด ด้วยทุ่ม
ปิดศอก ต่อยเสยคาง
หลบถีบ เตะตรง ถีบขาหลัง
ตามเตะ ถีบด้วยส้นเท้า
รีบเตะม้วนตัว แทงศอกกลับ
ก้มหลบลอดขา ถีบขาพับ
แหวกวงใน เสยคางด้วยหมัด
ปัดถีบ เตะสอดขาพับ
หลบเตะ ถีบขาหลัง
หลบวงใน - วงนอก ศอกฟันแขน
หลบวงใน แทงศอกที่อก
เตะขาพับ - สลับฟันศอก
หลบเข้าวงใน ฟันศอกตรงหน้า
 กลลูกไม้มวยไทย
กล ๑ เอราวัณเสยงา (แหวก ชกเสยคาง)
ไม้นี้คล้ายกับแม่ไม่มวยไทย กลที่ ๖ ชื่อ ตาเถรค้ำฟัก
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง
ข. ฝ่ายรับ เอนตัวผลักเฉียงไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อหลบหมัดซ้ายของฝ่ายรุก ทันใดนั้น ใช้หมัดซ้ายแหวกหมัดคุม ของฝ่ายรุก หมุนตัวไปทางขวา พร้อมทั้งใช้หมัดซ้ายชกเสยปลายคางของฝ่ายรุก ฝ่ายรับพยายามเบนตัวให้หัวไหล่ ชิดอกฝ่ายรุก
 กล ๒ บาทาลูบพักตร์ (ปัดหมัด เตะตรงหน้า)
ก. ฝ่ายรุก ตั้งหมัดคุมเชิงโดยหมัดซ้ายนำ พร้อมทั้งก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า หมัดขวาคุมปลายคาง เตรียมจะชกหน้า ฝ่ายรับ ด้วยหมัดซ้ายตรง
ข. ฝ่ายรับ ตั้งหมัดซ้ายนำ พร้อมทั้งก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าเช่นเดียวกัน พอฝ่ายรุกขยับตัวจะก้าวเข้าชกด้วยหมัด ซ้ายตรง ฝ่ายรับรีบใช้หมัดซ้ายปัดหมัดซ้ายของฝ่ายรุกที่จะชกมาให้เบนไปทางขวาของฝ่ายรับ ทันใดนั้นรีบเตะด้วย เท้าขวา ตรงไปที่ปลายคางของฝ่ายรุก หรือใช้ฝ่าเท้าลูบหน้าฝ่ายรุกแทนการเตะปลายคาง ตัวเอนไปทางซ้าย ยืนบนปลายเท้าซ้าย หมัดทั้งสองคุมเชิงอยู่เสมอหน้าอก
 กล ๓ ขุนยักษ์พานาง (แหวกมัด ด้วยทุ่ม)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง พร้อมทั้งก้าวเท้าสืบไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง
ข.ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าซ้ายก้าวออกนอกเท้าซ้ายของฝ่ายรุก ยกแขนขวาถอนข้อศอกปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุกให้พ้นตัว ทันใดรีบอาศัย ความเร็ว เข้าชิดตัวฝ่ายรุก ใช้แขนซ้ายโอบกลางตัว (ตอนใกล้เอว) ของฝ่ายรุกใช้ตะโพกยกตัวฝ่ายรุก ขึ้นทุ่มหงายหลังลงกับพื้น โดยแรง ฝ่ายรุกจะเสียกำลังหรือศีรษะอาจฟาดพื้น ยอมแพ้อย่างง่ายดาย
 กล ๔ พระรามน้าวศร (ปิดศอก ต่อยเสยคาง)
ใช้แก้การตีศอกคู่ของคู่ต่อสู้
ก. ฝ่ายรุก สืบเท้าเข้าหาฝ่ายรับ หรือเข้าชิดตัว ยกศอกคู่จะถองศีรษะ
ข. ฝ่ายรับ สืบเท้าเข้าหาฝ่ายรุก พร้อมทั้งยกแขนท่อนล่างขึ้นชนานกับพื้น เพื่อรับหมัดหรือศอกคู่ของฝ่ายรุก ทันใดนั้น ให้ใช้หมัดตรงกันข้ามชกเสยคางของฝ่ายรุก พร้อมทั้งก้าวเท้าสืบตามหมัดที่ชกไปด้วย
 กล ๕ ไกรสรข้ามห้วย (หลบถีบ เตะตรง พับขาหลัง)
ใช้แก้ไม้ "บาทาลูบพักตร์"
ก. ฝ่ายรุก โดดเตะปลายคางของฝ่ายรับ โดยวิธีเตะเสยขึ้นตรง ๆ ด้วยเท้าขวา
ข. ฝ่ายรับ ก้าวเท้าซ้ายโดดหลบ ปลายเท้าขวาของฝ่ายรุกโน้มตัวไปทางซ้าย ยืนบนเท้าซ้าย ทันใด รีบสอดเท้าขวา ถีบขาหลัง ของฝ่ายรุกที่ยืนอยู่ ตรงบริเวณหัวเข่า ซึ่งจะทำให้เข่าเคล็ดใช้การไม่ได้
 กล ๖ กวางเหลียวหลัง (ตามเตะ ถีบด้วยส้นเท้า)
มีวิธีปฏิบัติ ๒ ตอน

ตอนที่ ๑
ก. ฝ่ายรุก ตั้งหมัดขวาหรือซ้ายนำ เตรียมจะชกไปยังใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมด้วยก้าวเท้าไปข้างหน้า
ข. ฝ่ายรับ เตรียมตัวและเตะฝ่ายรุก กราดไปชายโครงมือทั้งสองงอคุมบริเวณคาง
 ตอนที่ ๒
ก. ฝ่ายรุก ตัวถอยหลัง เพื่อหลบเตะ ของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ รีบหมุนตัวกลับโดยเร็ว โดยใช้เท้าข้างที่เตะในตอนแรกยืนเป็นหลัก กลับหลังหัน ใช้เท้าตรงกันข้าม ถีบปลายคาง หรือยอดอกของฝ่ายรุก
 กล ๗ หิรัญม้วนแผ่นดิน (รับเตะ ม้วนตัว แทงศอกกลับ)
ก. ฝ่ายรุก เตะด้วยเท้าขวา กราดไปที่บริเวณชายโครงของฝ่ายรับ ยืนบนขาซ้าย มือทั้งสองงอกำบังตรงหน้า
ข. ฝ่ายรับ รีบยกแขนขวาท่อนล่างขึ้น รับเตะฝ่ายรุก ทันใดรีบหมุนตัวกลับหลังหันกางศอกซ้ายเสมอพื้นระดับตีคาง หรือ บริเวณใบหน้าของฝ่ายรุก
 กล ๘ นาคมุดบาดาล (ก้มหลบลอดขา ถีบขาพับ)
ใช้แก้การเตะสูง แบ่งการกระทำเป็น ๒ ตอน
 ตอนที่ ๑
ก. ฝ่ายรุก เตะบริเวณ คางหรือขมับด้วยเท้าขวา
ข. ฝ่ายรับ ก้มตัวลงหลบลอดใต้เท้าขวาของฝ่ายรุก ที่เตะมายังก้านคอหรือศีรษะ
 ตอนที่ ๒
ก. ฝ่ายรุก เตะด้วยเท้าขวาไม่ถูกที่หมาย ตัวหมุนไปด้วยแรงตามเท้าขวาไปด้วยแรงเหวี่ยง
ข. ฝ่ายรับ รีบสอดเท้าขวาถีบขาพับทางซ้ายของฝ่ายรุกให้ล้มขะมำไป

กล ๙ หนุมาณถวายแหวน (แหวกวงใน ชกเสยคางด้วยหมัด)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรงไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับสืบเท้าซ้ายไปข้างหน้า แขนขวางอคุม
ข. ฝ่ายรับ เบนตัวหลบหมัดซ้ายของฝ่ายรุก พร้อมกับสืบเท้าซ้ายเข้าชิดตัว หันซ้ายเข้าชิดอกฝ่ายรุก ทันใดนั้น กำหมัดทั้งสองชกเสือกไปที่ปลายคางของฝ่ายรุก
 กล ๑๐ ญวนทอดแห (ปัดถีบ เตะสอดขาพับ)
ใช้แก้ลูกถีบของคู่ต่อสู้
ก. ฝ่ายรุก เตรียมบุกฝ่ายรับ ด้วยการใช้เท้าจิก หรือถีบนำไปยังบริเวณท้องน้อยของฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ ใช้มือซ้ายปัดและจับข้อเท้าฝ่ายรุก ถ้าถีบด้วยเท้าซ้าย ทันใดนั้น ใช้เท้าขวาเตะสอดใต้ขาพับฝ่ายรุกโดยแรง ตัวเบนไปทางขวา น้ำหนักอยู่บนเท้าซ้าย
 กล ๑๑ ทะแย ค้ำเสา (หลบเตะ ถีบขาหลัง)
ก. ฝ่ายรุก เตะฝ่ายรับด้วยเท้าขวาไปที่บริเวณชายโครง ตัวเอนและยืนบนเท้าซ้าย หมัดทั้งสองงอกำบังตัว
ข. ฝ่ายรับ รีบก้มตัวไปทางขวา และยกเท้าซ้ายขึ้นถีบด้วยส้นเท้าที่โคนขาซ้ายของฝ่ายรุกซึ่งใช้ยืนเป็นหลัก น้ำหนักตัว ของฝ่ายรับอยู่บนขาขวา
 กล ๑๒ หงส์ปีกหัก (หลบวงใน-วงนอก ศอกฟันแขน)
ก. ฝ่ายรุก ขกด้วยหมัดซ้ายตรงไปยังบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า หมัดขวาคุม เสมอคาง
ข. ฝ่ายรับ สืบเท้าซ้ายก้าวเข้าชิดตัวฝ่ายรุกโดยเร็ว ใช้หมัดขวาปัดหมัดซ้ายของฝ่ายรุกให้พ้นตัว ทันใด รีบใช้ ศอกซ้าย ฟันเฉียดใบหู ลงไปกึ่งกลางแขนซ้ายท่อนบน
 กล ๑๓ สักพวงมาลัย (หลบวงใน แทงศอกที่หน้าอก)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้ายตรง มุ่งไปบริเวณใบหน้าของฝ่ายรับ เท้าซ้ายสืบไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง
ข. ฝ่ายรับ สืบเท้าเข้าหาฝ่ายรุก งอตัวอยู่ภายในแขนของฝ่ายรุก หมัดขวารีบปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุก ออกไป ให้พ้นตัว ทันใดรีบยกศอกซ้ายแทงบริเวณแผ่นอกของฝ่ายรุก แทงติด ๆ กันหลายครั้ง
 กล ๑๔ เถรกวาดลาน (เตะขาขวา สลับฟันศอก)
ก. ฝ่ายรุก ยืนคุมด้วยหมัดซ้ายพร้อมกับก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าหันข้างเตรียมเข้าชหฝ่ายรับ
ข. ฝ่ายรับ เตรียมหลอกโดยหมายชกหลอกด้วยหมัด แต่ทันใดนั้นพอฝ่ายรุกเตรียมขยับเท้าจะถีบ หรือก้าวเท้าซ้าย เตรียมเข้ามาชกก่อน ให้ฝ่ายรับยกเท้าขวาเตะกราดไปที่ขาพับข้างซ้ายของฝ่ายรุกโดยแรง เพื่อให้เสียหลัก แล้วรีบสืบ เท้าเข้าชก หรือตีศอกทันที
 กล ๑๕ ฝานลูกบวบ (หลบเข้าวงใน ฟันศอกตรงหน้า)
ก. ฝ่ายรุก ชกด้วยหมัดซ้าย พร้อมกับก้าวเท้าซ้ายสืงไปข้างหน้า หมัดขวาคุมเสมอคาง
ข. ฝ่ายรับ รีบสืบเท้าซ้ายชิดตัวฝ่ายรุกอยู่วงใน หมัดขวาปัดแขนซ้ายของฝ่ายรุกให้พ้นตัว ทันใดนั้น รีบยกศอกซ้าย ขึ้นเสมอกกหู ฟันลงไปบนใบหน้าของฝ่ายรุก เมื่อฝ่ายรุกเตรียมถอยฉากจะชกด้วยหมัดขวาตวัด ให้ฝ่ายรับรีบก้าว ขาขวา ตามติดตัว และใช้ศอกขวา ฟันลงที่บริเวณหน้าสลับกัน แขนตรงกันข้ามรีบปิดชายโครง เพื่อกันฝ่ายรุก หมายชก ชายโครงไว้
 การซ้อมกับคู่
เมื่อมีการเรียนทักษะเบื้องต้นจนจบหมดแล้ว รวมทั้งการฝึกหัดลูกไม้ด้วย ครูผู้สอนก็จะให้ผู้เรียนได้มีการ ฝึกซ้อม กับคู่ เพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้อาวุธต่าง ๆ แต่การซ้อมกับคู่ บางทีอาวุธบางอย่างอาจไม่อนุญาตให้ใช้ เช่น ศอก เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ การซ้อมกับคู่นอกจากจะเป็นการฝึกหัดใช้ทักษะแล้ว ยังเป็นการฝึกกำลังใจ ให้เกิด ความกล้า ไม่กลัวเจ็บ ฝึกให้รู้จักคาดคะเนระยะ รู้จักจังหวะเข้าจังหวะออก ฝึกให้เกิดกำลังจากการเข้าประกบ การกอดรัดฟัดเหวี่ยง     ในการซ้อมคู่นี้ ควรฝึกให้มีบ่อย ๆ อาจทุกชั่วโมงก็ได้ ในตอนท้ายตัวผู้เรียนเองก็จะเกิดความพอใจด้วย

การไหว้ครู

การไหว้ครู เป็นประเพณีของชาวไทย ซึ่งสำแดงถึงความกตัญญูรู้คุณ ในการแสดงศิลปะ วิชาการแขนงต่าง ๆ แทบทุกแขนง เช่น โขน ละคร ฯลฯ ก็มักจะถือเอาครู เป็นมิ่งขวัญสำคัญ ต้องกราบไหว้ก่อน และ ด้วยประเพณีนี้ ทำให้มวยซึ่งเป็นศิลปะวิชาการ ประเภทหนึ่ง ก็มีวิธี
ไหว้ครูก่อนทำการชก
                บางท่านว่า ประเพณีเกิดจากสมัยเก่าก่อน การชกมวยมักจะมีต่อหน้าพระที่นั่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข มักเสด็จ ทอดพระเนตร ฉะนั้นนักมวยที่จะเข้าทำการต่อสู้กัน จึงต้องทำการถวายบังคมด้วยท่าทางของมวย มีฟ้อนรำตามประ เพณี เป็นการขอรับ พระราชทานอภัยในสิ่งที่ตนอาจพลาดพลั้งในกิริยาท่าทาง ฯลฯ
การไหว้ครู มีท่ารำอยู่หลายท่า ตามแต่ครูฝึกสอนจะนิยมนำมาให้ศิษย์ใช้ เช่น รำเทพพนม พรหมสี่หน้า นารายณ์น้าวศร ฯลฯ
การรำดังกล่าวนี้ เมื่อได้กราบ ๓ รา ด้วยท่ามวยแล้ว จึงรำด้วยท่าใดท่าหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ในที่นี้จะได้นำมากล่าว เฉพาะ พรหมสี่หน้า ซึ่งนิยมกันมาก
 พรหมสี่หน้า
 เริ่มด้วยการนั่งคุกเข่า ๒ ข้างลงกับพื้น ทำมุมกาง ๙๐ องศา นั่งทับส้นเท้า
 จังหวะ ๑
ยกมือพนมระหว่างคิ้ว แล้วเลื่อนลดลงมาหยุดเสมออก
 จังหวะ ๒
แยกมือที่พนมออกจากกัน เหยียดตรงไปข้าง ๆ ตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้า วกมือทั้ง ๒ ไปบรรจบกันข้างหน้า คว่ำแตะพื้น ศีรษะก้มลงในท่ากราบ แล้วผงกศีรษะทรงตัวตรงตามเดิม
 จังหวะ ๑ - ๒ นี้เป็นท่ากราบ เมื่อทรงตัวตรง มือทั้ง ๒ กลับขึ้นพนมเหนือคิ้ว และลดพักเพียงอกอีก ทำท่ากราบนี้ให้ครบ ๓ ครั้ง เมื่อกราบครั้งที่ ๓ แล้ว
 จังหวะ ๓
เหยียดเท้าขวาออก เป็นท่าชันเข่ายืน แขนขวาออกแรงแตะเข่าขวา

จังหวะนี้เป็นท่าเตรียมยืน แต่เพื่อความสง่างามจึงมีจังหวะเคลื่อนไหวให้แนบเนียนขึ้น เมื่อใช้มือขวาแตะเข่าขวา ยืนตรงขึ้น พร้อมด้วยหมัดซ้ายยกขึ้นระดับเสมออก ประชิดเท้าซ้ายขึ้นเสมอเท้าขวา เป็นท่ายืนหันหน้าไปทางคู่ต่อสู้
 จังหวะ ๔
ยกเท้าขวางอเข่าขึ้นข้างหน้าเป็นมุม ๙๐ องศา ๒ หมัดยกควงเสมอหน้ารอบหนึ่ง แล้วเหยียดหมัดยกขึ้นควงเสมอขวา ไปแตะขาขวา (ที่ยกอยู่)
ลดเท้าขวาลงพื้น หมัดทั้งสองอยู่ในท่าคุม (การ์ด) สืบเท้าขวาและซ้ายตามไปสามจังหวะ จังหวะสั้น ๆ แล้วหยุด
หยุดการสืบเท้าแล้ว เบี่ยงซ้ายชันเข่าซ้าย เป็นมุม ๙๐ องศา หมัดทั้ง ๒ ยกควงเสมอหน้า แล้วเหยียดแขนซ้าย แตะหมัดไปที่ขาซ้าย (ที่ยกอยู่) ลดเท้าซ้ายยันพื้นสืบเท้า ๓ จังหวะ สู่จุดเดิม ทำดังนี้จากด้านหน้า (ดังได้อธิบายแล้ว) กลับหลังแล้วยกเท้าขวาขึ้น เริ่มต้น จังหวะ ๔ อีกครั้ง เบี่ยงตัวไปทางขวา ปฏิบัติทุกอย่างเช่นเดียวกัน หากเป็นเพียง สืบเท้าไปทางด้านขวา จากด้านขวาแล้วเปลี่ยน เป็นซ้ายและหลังเป็นที่สุด ซึ่งสรุปการรำนี้ เป็นการก้าวฉาก แล้วเฉียง ไปทั้งสี่ทิศ จึงให้ชื่อว่าพรหมสี่หน้า    การร่ายรำจะจบลงในชุดเดิม ต่อจากนี้จึงเป็นจังหวะของการเดินเข้าไปหาคู่ต่อสู้ต่อไป
 มารยาทมวยไทย
 ๑. เคารพเชื่อฟังครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด
๒. มีความขยันหมั่นเพียร
๓. พร่ำบ่นมนต์คาถาต่าง ๆ ที่ครูประสาทให้
๔. ไม่ดูถูกฝีมือนักมวยรุ่นพี่
๕. เคารพในเครื่องรางของขลัง
๖. ไม่นำเอาวิชามวยไปรังแกผู้อื่น นอกจากป้องกันตัวเท่านั้น
๗. ไม่โอ้อวดความสามารถ
๘. หลีกเลี่ยงของมึนเมาต่าง ๆ
๙. เข้าร่วมในพิธีการยกครูทุกครั้ง
๑๐. ให้ความเคารพในครูมวยคณะอื่น ๆ ด้วย
 ที่มาwww.thenpoor.ws/thaiboxing/index.html   


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น